ใครๆ นั้นก็ชอบของถูก ของที่เราต้องประหยัดเงินในการซื้อหรือช่วยลดภาระการใช้จ่ายจำนวนมากๆ ซึ่งเราก็มีอีกหนึ่งตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ที่มีราคาถูกอย่างซอสน้ำมันหอยปลอม ที่ถูกทางเจ้าหน้าที่ตำรวจพร้อมทีม อย. เข้าตรวจสอบ โดยผู้ใช้เฟสบุ๊ค วัชรินทร์ นิวัฒน์สวัสดิ์ ได้โพสต์ภาพการเข้าตรวจสอบพร้อมข้อความอธิบายไว้ดังนี้…


#ไม่รู้กินเข้าไปบ้างยัง ผัดผักไส่น้ำมันหอยบ่อยๆ เชื่อว่าคนส่วนใหญ่น่าจะชอบของถูก เพราะใช้ได้เหมือนกัน แต่ที่สำคัญคือราคาถูกกว่า โดยส่วนตัวก็ยังเชื่อว่า ของถูกและดี นั้นมี แต่ที่สำคัญคือต้องดูให้ดีๆ ก่อนที่จะซื้อ ถ้าเป็นเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มคงไม่เท่าไร แต่ถ้าเป็นผลิตภัณฑ์ที่เราต้องกินต้องใช้ อันนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญ

หลังจากไปตรวจโรงงานผลิตซอสน้ำมันหอย น้ำปลา น้ำส้มสายชู แห่งหนึ่ง ผลิตภัณฑ์บางตัวได้ขออนุญาตผลิตอาหาร ผลิตภัณฑ์บางตัวไม่ได้ขออนุญาตผลิตอาหาร แต่ที่สำคัญคือ สถานที่ผลิตและกระบวนการผลิต โอ้โห !!!!!!! ความรู้สึกแรกที่เห็น เฮ๊ย !!!! กูกินอะไรเข้าไปบ้างวะเนี่ย ซอสน้ำมันหอย ที่ไม่มีหอยผสมอยู่ซักตัว มีแต่ น้ำประปา, ซีอิ๊ว, คาราเมล, แป้งข้าวโพด, น้ำตาลทราย, ผงชูรส, สารกันบูด ผสมรวมกันอยู่ในหม้อเคี่ยวที่ไม่น่าจะได้ทำความสะอาดมาแสนนาน
น้ำปลา ที่มีหัวเชื้อน้ำปลาผสมอยู่เพียงน้อยนิด นอกจากนั้นก็เป็นน้ำประปา เกลือ ผสมโน่นนี่นั่นและสารเคมี หมักอยู่ในบ่อที่ เอ่อ…. (ตามภาพ) แล้วถูกสูบเข้ามาเก็บในถังพลาสติกพร้อมเดินทางผ่านสายยางที่วางอยู่กับพื้นสู่ขวดบรรจุ

น้ำปลา กินเข้าไปแล้ว ก็เค็มเหมือนกัน แต่ที่เพิ่มเติมมาคือโรคภัยไข้เจ็บที่เกิดจากอาหารที่ไม่ได้คุณภาพเหล่านี้ เชื่อว่า ยังมีอีกหลายแห่งที่ผลิตอาหารไม่ได้คุณภาพหรืออาหารปลอม ซึ่งก็มีการร่วมมือกันหลายๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตามจับกุมกันต่อไป ผลิตภัณฑ์อาหารที่ถูกผลิตโดยไม่ได้มาตรฐานและนำไปจำหน่ายในราคาถูกมาก ส่วนใหญ่มักจะนำไปจำหน่ายตามตลาดนัดต่างจังหวัดและร้านขายเร่
เน้นย้ำกันอีกครั้ง !!!! ของถูกและดี นั้นมี แต่ที่สำคัญคือต้องดูให้ดีๆ ก่อนที่จะซื้อ ข้อสังเกตในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ปลอมหรือไม่ได้มาตรฐาน เบื้องต้นสามารถสังเกตได้ที่ฝาจุกจะมีความละเอียดในการพิมพ์โลโก้ ฉลากมีความคงทนและพิมพ์ได้ชัดเจนกว่าของปลอม ระดับปริมาณน้ำในขวดของปลอมมักจะบรรจุไม่เท่ากันและไม่ได้มาตรฐาน ผลิตภัณฑ์จะตกตะกอน ในน้ำปลาแท้บางครั้งอาจพบผลึกใสๆ ตกอยู่ก้นขวด

ซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาทางเคมีตามธรรมชาติไม่ถือว่ามีอันตราย, ต้องมีตราสินค้าและบริษัทที่ผลิต, มีการระบุวัน เดือน ปี ที่ผลิต และวันที่หมดอายุ และส่วนมากผลิตภัณฑ์ปลอมมักจะเป็นร้านขายเร่ ไม่เป็นหลักแหล่ง และขายในราคาที่ถูกกว่าท้องตลาดจนเกินไป และมีการจัดโปรโมชั่นสนับสนุนการขาย หากพบผลิตภัณฑ์ต้องสงสัยแจ้งสายด่วน 1135 บก.ปคบ. หรือสายด่วน อย. 1556

ขอบคุณข้อมูลจาก:seng-ped.com


ความคิดเห็น